วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551

ประวัติการพัฒนาเทคโนโลยีการเชื่อม

การเชื่อมด้วยการตีเหล็กให้ติดกันนั้น มีมานานกว่า 3000 ปี และเป็นวิธีเดียวที่สามารถประสานโลหะให้ติดซึ่งกันและกัน การเชื่อมแบบนี้แต่ก่อนนั้นยังเป็นกระบวนการที่พอใช้ได้ สำหรับชาวโบราณ ต่อมาเมื่อเริ่มยุคอุตสาหกรรม การเชื่อมต่อชิ้นส่วนมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างเครื่องจักร หม้อน้ำ อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นต้องมีวิธีการต่อเชื่อมที่สามารถเชื่อถือได้
1809 เดวี นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ค้นพบการอาร์กไฟฟ้า
1867 อีลิกุ ธอมเซน ค้นพบการเชื่อมความต้านทานสำหรับงานเหล็ก
1867 ชาวรัสเซีย วอน เบอร์นาโดส์ และออลซิวสกี้ ทดลองใช้การเชื่อมด้วยการอาร์กไฟฟ้า การอาร์กระหว่างแท่งอิเล็คโตรดคาร์บอนและชิ้นงาน
1890 ชาวรัสเซีย สลาเวียนอฟ พัฒนาการเชื่อมอาร์กไฟฟ้าแบบลวดเชื่อมสิ้นเปลือง
1893 ค้นพบแก๊สอะเซทิลีน
1895 พัฒนาการเชื่อมแก๊สอะเซทิลีนและอากาศ โดย คาร์ลวอน ลินเด
1896 แดรเกอร์ คิดค้นหัวทอร์ชเชื่อม แบบการดูด(Suction) และหัวฉีดพ่น (Injector Nozzle)
1901 เป็นครั้งแรกที่ใช้อะซีโตนละลายอะเซทิลีน
1908 คจีลเบิร์ก ใช้ลวดเชื่อมในการเชื่อมซ่อม เป็นครั้งแรก
1937 ในเยอรมันได้ใช้การเชื่อมใต้ฟลักซ์ (Submerged-Arc Welding)
1940 เริ่มต้นการเชื่อมทิก (Tungsten Inert Gas Welding - TIG) ในอเมริกา ด้วยแก๊สฮีเลียม
1950 การใช้การเชื่อมด้วยแก๊สเฉื่อย ในสหพันธรัฐเยอรมัน ด้วยแก๊สอาร์กอน
1955 การเชื่อมด้วยแก๊สปกป้องด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
1955 การเริ่มต้นทดลองใช้การเชื่อมแบบอิเล็คโตร-สแล็ก (Electroslag) ในรัสเซียการจดลิขสิทธิ์การเชื่อมพอกผิวด้วยลวดเชื่อม
1957 การพัฒนากรรมวิธีการเชื่อมแบบอิเล็คโตร-สแล็ก (Electroslag)
1957 การประยุกต์ใช้การตัดด้วยอาร์กพลาสมา
1961 มีการจดลิขสิทธิ์การเชื่อมด้วยลำแสงอิเล็คตรอน (Electron-Beam)
1964 การประยุกต์ใช้การเชื่อมด้วยอาร์กพลาสมา
1965 การพัฒนาการเชื่อมแบบลวดเชื่อมแกนฟลักซ์ (Flux-Cored Wire) ในรัสเซีย
1968 การพัฒนาของเลเซอร์แก๊สและของเหลว

การเชื่อม

การเชื่อมคือการต่อวัสดุเข้าด้วยกัน ณ บริเวณที่ทำการเชื่อมจะถูกความร้อน และ/หรือ มีแรงกระทำ โดยที่จะมีโลหะหรือปราศจากโลหะเติมลงในแนวเชื่อมก็ได้ นอกจากนั้นยังสามารถที่จะใช้หรือไม่ใช้วัสดุสิ้นเปลืองของการเชื่อม เป็นต้นว่า แก๊สปกป้อง, ฟลั๊กซ์ หรือ น้ำยา พลังงานจากภายนอกใช้เป็นพลังสำหรับการเชื่อม

คำศัพท์สำหรับการเชื่อม จำแนกตามกระบวนการเชื่อมต่างๆ ใช้เป็นมาตรฐาน

การบัดกรีแข็งและการบัดกรี
การบัดกรีแข็ง (Brazing) และการบัดกรี (Soldering) เป็นกรรมวิธีใช้ความร้อนทำให้ยึดล็อกและเคลือบให้ติดกัน ในกรณีนี้วัสดุที่ใช้เป็นตัวบัดกรีจะเป็นวัสดุอยู่ในสภาพของของเหลวซึมยึดติดกับชิ้นงาน ส่วนชิ้นงานที่จะยึดยังคงอยู่ในสภาพของแข็ง พลังงานจากภายนอกใช้เป็นพลังสำหรับการบัดกรี

การยึดติดด้วยกาว

การยึดติดด้วยกาว เป็นการต่อยึดวัสดุสองชิ้นด้วยน้ำยาหรือกาว ในกรณีนี้โครงสร้างของรอยต่อจะไม่มีการเปลี่ยนสภาพแตกต่างจากเดิมมากนัก ชิ้นงานที่ถูกต่อยึดจะถูกยึดด้วยกาว พื้นที่ที่ยึดคือส่วนที่เป็นผิวหน้าชั้นกาวที่ทาไว้

การจำแนกกระบวนการเชื่อม

การจำแนกกระบวนการเชื่อมขึ้นอยู่กับแหล่งพลังงานที่ใช้


การจำแนกกระบวนการเชื่อมตามขั้นตอนทางกายภาพของการเชื่อม


การจำแนกกระบวนการเชื่อมตามจุดประสงค์ของการเชื่อม